หลักการ แนวคิด การออกแบบ และการผลิตอินโฟกราฟิกเพื่อการนำเสนอและประยุกต์ในการส่งเสริมการเกษตร
หลักการ ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญ และบทบาท ของการออกแบบความคิด และจิตวิทยาเพื่อการส่งเสริมการเกษตร
ไม่มีข้อมูล ***ขาดคำอธิบายรายวิชา
หลักการจัดการความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ทางการส่งเสริมการเกษตรและระบบสารสนเทศการจัดการความรู้ทางการส่งเสริมการเกษตร
ทฤษฎี หลักการ แนวคิดการสื่อสารและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อวางแผนการสื่อสารได้แก่ การพูด การเขียน การออกแบบข้อความ สื่อ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จิตวิทยา กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การยอมรับนวัตกรรมทางการเกษตร การรู้เท่าทันสื่อ และแนวโน้มงานวิจัยและการสื่อสารในอนาคต
ทฤษฎี หลักการ แนวคิดการสื่อสาร การวางแผน การออกแบบและจัดทำ Story board ความคิดสร้างสรรค์ ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม (Event) และกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) รวมทั้ง กรณีศึกษา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินทางธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมการเกษตร ภาษาอังกฤษ
พัฒนาการของระบบพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนในยุคต่างๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นโยบายการพัฒนามนุษย์ของประเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ผู้ใหญ่ จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทฤษฎีการสื่อสารและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนวคิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม กลุ่มและการพัฒนากระบวนการกลุ่ม ผู้นำและการสร้างภาวะผู้นำ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กระบวนการเครื่องมือและการออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการเกษตร การบริหารการเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้ง ศึกษาดูงาน
แนวคิดและทฎษี ความหมายและความสำคัญของแนวคิดเกี่ยวกับนวัตวิถี ชุมชนและหลักการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การบริหารจัดการชุมชน การคิดเชิงสร้างสรรค์ หลักการสร้างและพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน
แนวคิดและหลักการ การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม การเขียนข้อเสนอโครงการ การบริหารและการประเมินผลการฝึกอบรม การอบรมสมัยใหม่ การจัด E-Training เพื่องานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การเปลี่ยนแปลงบริบทการพัฒนาต่อทิศทางการพัฒนาการเกษตร นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร การวางแผน การออกแบบและการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดการโครงการ การติดตาม และประเมินผลโครงการ
หลักการและแนวคิดทางการส่งเสริม ระบบการส่งเสริมการเกษตร เศรษฐกิจฐานราก ศักยภาพการผลิต เครื่องมือที่ใช้ทางการส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมของประเทศไทย การเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน CLMV การส่งเสริมการเกษตรในประเทศต่างๆการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรภาคการเกษตร และทิศทางการส่งเสริมการเกษตรในโลกปัจจุบัน
ไม่มีข้อมูล ***ขาดคำอธิบายรายวิชา
หลักการ ทฤษฎี แนวคิด ความหมายชุมชน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชุมชนท้องถิ่น วิธีการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน การค้นหาปัญหาและความต้องการของชุมชน เครื่องมือศึกษาชุมชน การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชน เทคนิคและเครื่องมือการเรียนรู้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
เทคโนโลยีระบบอัจริยะ การใช้เทคโนโลยีอัจริยะเพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตร แนวโน้มและทิศทางของการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการส่งเสริมการเกษตรในอนาคต
แนวคิดและทฤษฎีนวัตกรรม เศรษฐนวัตกรรมเกษตร นวัตกรรมตลาดเกษตร กลยุทธ์นวัตกรรมเกษตร การออกแบบนวัตกรรมในงานส่งเสริม กระบวนการนวัตกรรมในงานส่งเสริม แหล่ง/ที่มานวัตกรรมในงานส่งเสริม การคัดเลือกนวัตกรรมในงานส่งเสริม การค้นหากลยุทธ์สำหรับนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการบริการในงานส่งเสริม การต่อยอดนวัตกรรมในงานส่งเสริม การค้าและการเผยแพร่นวัตกรรมในงานส่งเสริม การจัดการคุณค่านวัตกรรมในงานส่งเสริม การจัดการนวัตกรรมเพื่อสังคมในงานส่งเสริม
หลักการ แนวคิด อุปกรณ์ และกระบวนการในการถ่ายภาพ เทคนิคการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพ และประยุกต์ใช้เพื่อการส่งเสริมการเกษตร
หลักการ แนวคิดสื่อดิจิทัล การออกแบบ การผลิต การประยุกต์และบูรณาการสื่อดิจิทัลเพื่อใช้ในการส่งเสริมการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการ แนวคิด อุปกรณ์ กระบวนการและเทคนิคในการผลิตรายการวิทยุ และโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล เพื่อการส่งเสริมการเกษตร
การวางแผนในการนำเสนอผลงาน การเขียนบทความและรายงานเพื่อนำเสนอผ่านสื่อดิจิทัล เทคนิคการพูดและนำเสนอผลงาน การผลิตและการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อนำเสนอและถ่ายทอดผลงานทางการเกษตร
หลักการ แนวคิด การออกแบบ และการผลิตอินโฟกราฟิกเพื่อการนำเสนอและประยุกต์ในการส่งเสริมการเกษตร
การฝึกงานเฉพาะด้านส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
การฝึกงานเฉพาะด้านส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
บทบาทและการเป็นผู้ประกอบการ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การวางแผน เทคนิค วิธีการในการทำธุรกิจเกษตรของผู้ที่ประสบความสำเร็จแบบมืออาชีพ
แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์บุคคล องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์บุคคล กระบวนการสร้างแบรนด์บุคคล การพัฒนาภาพลักษณ์ของบุคคล สื่อสังคมออนไลน์และออฟไลน์ ตลาดสินค้าเกษตร กลยุทธ์การทำตลาดสินค้าเกษตรและพฤติกรรมของผู้ติดตาม การสร้างแบรนด์บุคคลในงานส่งเสริมการเกษตร การวิเคราะห์แบรนด์บุคคลจากกรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติสร้างแบรน์บุคคลในฐานะผู้ประกอบการสินค้าเกษตร
แนวคิดความสุขของชุมชน แนวคิดการจัดทำดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตชุมชน แนวคิดการจัดทำดัชนีชี้วัดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน แนวคิดการจัดทำดัชนีชี้วัดความสุขของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการสร้างตัวชี้วัดเพื่อชุมชนเป็นสุข บทบาทและภาวะผู้นำทางการเกษตร
ความรู้เกี่ยวกับตลาดสินค้าเกษตร หน้าที่และผู้ทำหน้าที่ในตลาดสินค้าเกษตร ช่องทางการสื่อสารธุรกิจเกษตร สารสนเทศทางการเกษตร ธุรกิจเกษตรบนอินเทอร์เน็ต ชนิดและรูปแบบสื่อโฆษณาธุรกิจเกษตร กฎหมายและจรรยาบรรณในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
หลักการ แนวคิดสื่อสร้างสรรค์ การออกแบบและการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างแนวคิด ความตระหนักจิตสำนึก การอนุรักษ์ การรณรงค์ และการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการส่งเสริมการเกษตร
หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในเครื่องมือสื่อสารไร้สาย การเกษตรในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาและการใช้งานแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา การจัดการขอมูล การติดตอกับเครือขายโทรศัพทเคลื่อนที่เพื่อการส่งเสริมการเกษตร
แนวคิดในการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยทางส่งเสริม การเขียนโคร่งร่างงานวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล งานสร้างสรรค์และการใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ผลงานวิจัยมีคุณค่าในเชิงวิชาการ
เรื่องเฉพาะทางส่งเสริมการเกษตร ในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา
การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางทางด้านการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร ในระดับปริญญาตรี
การศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร ระดับปริญญาตรี และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
การฝึกปฏิบัติงานพิเศษด้านส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร
ความสำคัญของการผลิตสัตว์ความสัมพันธ์กับการเกษตรสาขาอื่น ๆ หลักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์การจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อม ผลผลิตขั้นปฐมและผลิตภัณฑ์จากสัตว์การตลาดปศุสัตว์แนวโน้มการผลิตสัตว์ในอนาคต
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ด้านพืชไร่ระบบนิเวศวิทยาการเกษตรการจำแนกพืชสรีรวิทยาการผลิตการปรับปรุงพันธุ์พืชวิทยาศาสตร์ของดินการเขตกรรมและระบบการปลูกพืชวิทยาศาสตร์เมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชไร่
ปฏิบัติการสำหรับวิทยาศาสตร์ด้านพืชไร่เน้นการจำแนกพืชดิน น้ำปุ๋ยและการวิเคราะห์ธาตุอาหารและฮอร์โมนของพืชการเจริญพันธุ์และการผสมพันธุ์พืชการปรับปรุงพันธุ์พืชเครื่องจักรกลเกษตรและการใช้งานศัตรูพืชและการควบคุมคุณภาพเมล็ดและการงอกของเมล็ดและเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร
พืชไร่เศรษฐกิจหลักๆที่สำคัญของประเทศไทยแหล่งปลูกพันธุ์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมการเตรียมดินการปลูกการดูแลรักษาการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูการใช้ประโยชน์และการตลาด
พฤกษศาสตร์พืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในกลุ่มของธัญพืชพืชน้ำมันพืชโปรตีนพืชน้ำตาลพืชหัวพืชอุตสาหกรรมและพืชอื่นๆ
การฝึกงานเฉพาะด้านพืชไร่
ชนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และการเจริญเติบโตของพืชอาหารสัตว์เขตร้อน การปลูก การจัดการ การใช้ประโยชน์ การเก็บถนอมอาหารสัตว์เขตร้อนการปรับปรุงพันธุ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืชอาหารสัตว์
ที่มาและความสำคัญของสารสกัดธรรมชาติที่พบในพืชไร่ ปัจจัยและเขตกรรมที่เหมาะสมต่อการผลิตสารสำคัญในพืช วิธีการสกัด คุณสมบัติ และการใช้ประโยชน์ของสารสำคัญ เช่น กลุ่มโปรตีน กลุ่มไขมัน กลุ่มคาร์โบไฮเดรต กลุ่มฟีนอล กลุ่มแอลคาลอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ
พฤกษศาสตร์ของวัชพืชวิธีการกำจัดด้วยสารเคมีและวิธีอื่นๆ
การจำแนกสารป้องกันกำจัดวัชพืชด้วยวิธีต่าง ๆ ชื่อเคมี ชื่อสามัญ และ ชื่อการค้าของสารป้องกันกำจัดวัชพืช คุณสมบัติทางกายภาพของสารเคมีบริสุทธิ์ ลักษณะการใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช พฤติกรรมทางชีวเคมีในต้นพืช พฤติกรรมในดิน ข้อมูลความเป็นพิษต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งหมวดหมู่การระบุชื่อวัชพืชสัณฐานวิทยาอนุกรมวิธานสรีรวิทยานิเวศวิทยาการเติบโตการขยายพันธุ์และพัฒนาการของวัชพืชการสำรวจและการศึกษาประชากรวัชพืชการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัชพืชกับพืชปลูกและปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆรวมทั้งการแข่งขันของวัชพืชสารอัลลิโลพาธีซึ่งเป็นหลักสำคัญในการจัดการวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของสิ่งมีชีวิต
ปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกและผลต่อการเกษตรการแลกเปลี่ยนความร้อนใกล้ระดับผิวดินความสัมพันธ์ของลักษณะภูมิประเทศกับจุลภูมิอากาศการเปลี่ยนแปลงของจุลภูมิอากาศเนื่องจากวิธีการเขตกรรมเพื่อการผลิตพืชการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภูมิอากาศเพื่อการเกษตรและการวางแผนการผลิตพืช
เนื้อหาของวิชาเกี่ยวข้องกับบทนำเกี่ยวกับน้ำ ข้อกำหนดที่นำมาตัดสินใจว่าควรมีการให้น้ำหรือไม่ ข้อที่ควรนำมาพิจารณาว่าจะให้น้ำด้วยระบบใด และข้อที่ต้องนำมาพิจารณาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนการให้น้ำตลอดจนมีการทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชายิ่งขึ้น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของข้าว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตข้าว การใช้ประโยชน์ การแปรรูป ระบบโลจิสติกส์ การตลาดและการพาณิชย์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีข้าวสู่ชุมชน
การสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวโมเลกุลและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่สำคัญจากพืชเศรษฐกิจ การประยุกต์และใช้ประโยชน์ด้านอาหารมนุษย์ สัตว์ และโภชนาการและอุตสาหกรรม
สถานภาพการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจ ผลกระทบจากปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐ-สังคมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และห่วงโซ่คุณค่าการผลิตพืชไร่นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์และการตลาดของพืชไร่ที่ผลิตเพื่ออุตสาหกรรมทางอาหารอาหารสัตว์ พลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมีการศึกษานอกสถานที่
หลักการทางสรีรวิทยาของพืช สรีรวิทยาการเจริญเติบโตของพืชไร่การใช้หลักปฏิบัติในการเพาะปลูกโดยคำนึงถึงแสงสว่างอุณหภูมิน้ำและคุณค่าทางอาหารในดินที่มีผลทางสรีรวิทยา
ความสำคัญและการพัฒนาระบบการเกษตรเพื่อการผลิตอาหารแก่ชาวโลก ชนิดของการเกษตรเชิงระบบในเขตร้อน แนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเชิงระบบทั้งด้านพืช สัตว์ และประมงแบบบูรณาการ เพื่อการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
หลักและวิธีการในการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และวิธีการอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
หลักการและเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการปรับปรุงันธุ์พืชไร่ เช่น การผสมพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเนื่อพืช การคัดเลือกพันธุ์พืชเพื่อให้มีคุรภาพที่ดี ต้านทานโรค-แมลง ทนทานความแห้งแล้ง การใช้ molecular marker ในการปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนการนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
ศึกษาทฤษฎีและความรู้พื้นฐานต่างๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและการนำเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปใช้เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่และการผลิตพืชไร่เชิงอุตสาหกรรม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01003211 และ 01003212
สรีรวิทยาของเมล็ดพันธุ์พืชไร่การผลิตเมล็ดพันธุ์การเก็บรักษาและควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หลักและทฤษฎีในการทดสอบความงอกความแข็งแรงความมีชีวิตของเมล็ด
ทบทวนหลักสถิติสำคัญพื้นฐาน เรียนรู้ทฤษฎีและอธิบายกระขบวนการวิจัยหลักการวางแผนการทดลอง แผนการทดลอง การเปรียบเทียบทรีทเมนต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนของแผนการทดลองต่าง ๆ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอย การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัยทางพืชไร่เริ่มตั้งแต่การวางแผนและจัดรูปแบบการปลูกทดลองในแปลง การเตรียมตารางเพื่อเก็บข้อมูลการรวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และนำเสนอผลการวิจัย
เรื่องที่น่าสนใจทางพืชไร่ในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษา และมีการศึกษานอกสถานที่
การศึกษาและค้นคว้าผลงานวิจัยบทความทางวิชาการและหนังสือหรือตำราแล้วนำเสนอในที่ประชุมสัมมนา
การศึกษาค้นคว้าทางพืชไร่ระดับปริญญาตรีและเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
การฝึกงานพิเศษด้านพืชไร่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111
ชีววิทยาของแมลง สัณฐานวิทยา วงจรชีวิตและการพัฒนา สรีรวิทยา นิเวศวิทยา วิวัฒนาการและความหลากหลาย การจัดหมวดหมู่ การเก็บตัวอย่าง การเก็บรักษาและการจำแนกแมลง หลักการควบคุม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
วิวัฒนาการ การตั้งชื่อ การเก็บตัวอย่าง การเก็บรักษา และการจำแนกแมลง แนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายของแมลง อนุสัญญา ดัชนีความหลากหลาย การอนุรักษ์และการนำความหลากหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ความเสียหายเนื่องจากแมลงและการสำรวจความเสียหาย การเลี้ยงแมลงที่สำคัญ แมลงศัตรูที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แมลงที่มีประโยชน์ และสัตว์เครือญาติของแมลง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
สัณฐานวิทยาและอวัยวะภายในของปลวก ชนิด วรรณะ และพฤติกรรมทางสังคมของปลวก จุลินทรีย์ที่มีความสัมพันธ์กับปลวก การระบุชนิดของปลวก บทบาทของปลวกต่อระบบนิเวศวิทยา การสำรวจและการตรวจสอบการเข้าทำลายของปลวก ความเสียหาย การป้องกันและควบคุมโดยวิธีใช้และไม่ใช้สารเคมี การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการศึกษาความหลากหลายของปลวก
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ชีววิทยา ความหลากหลาย หลักการผลิตผึ้ง ไหม ครั่ง แมลงกินได้ แมลงตัวห้ำและตัวเบียน แมลงสวยงามเพื่อการค้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์แมลง การศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอก สรีระวิทยา พฤติกรรม ความหลากหลาย การจัดการดูแลรัง การจัดการโรค ศัตรู และไรปรสิต การย้ายและการแยกขยายจำนวนรังผึ้งและชันโรงเพื่อการผลิตน้ำผึ้งและใช้เป็นแมลงผสมเกสร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง การศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ชีววิทยา นิเวศวิทยา พฤติกรรม ความหลากหลายของแมลง ในระบบนิเวศต่างๆ เทคนิคการสำรวจ จำแนกแมลง การวางแผนการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นการทบทวนงานวิจัย และการเขียนรายงานจากโครงการวิจัยอย่างง่ายในภาคสนามการศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01015299
การฝึกงานเฉพาะด้านกีฏวิทยา
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ประวัติของนิติกีฏวิทยา บทบาทของแมลงและสัตว์ขาปล้องในงานนิติกีฏวิทยา แมลงและการย่อยสลายของซากศพ การประมาณระยะเวลาหลังการเสียชีวิต และกรณีศึกษา
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ความหลากหลายของแมลงที่มีประโยชน์ในการบำบัดโรคของมนุษย์องค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ในแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์ กลไกของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ผลของการใช้ประโยชน์องค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ในแมลงต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ การใช้ประโยชน์แมลงในอันดับต่าง ๆ ในการบำบัดโรคของมนุษย์ หลักการผลิตพิษผึ้ง และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
ชีววิทยา สัณฐานวิทยา การพัฒนาและการขยายพันธุ์ของไรทางการเกษตร ความเสียหายที่เกิดจากไรศัตรูพืช ไรที่มีประโยชน์ การเก็บตัวอย่างและการเตรียมตัวอย่างเพื่อการศึกษาทางอนุกรมวิธาน การระบุชนิด การเพาะเลี้ยงไร การทดสอบประสิทธิภาพของการกำจัดไรศัตรูพืช การจัดการไรการเกษตร มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ประเภทของแมลงและสัตว์ขาปล้องที่พบในชุมชนมนุษย์และสัตว์ ระบาดวิทยาของการเกิดโรคของมนุษย์และสัตว์ที่สำคัญในชุมชน การควบคุมและป้องกัน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
แมลงพาหะนำโรคสู่พืชที่สำคัญ กลไกการถ่ายทอกเชื้อสาเหตุโรค ผลของสิ่งแวดล้อมต่อการอยู่รอดและการถ่ายทอดโรค กลยุทธในการควบคุมและการจัดการแมลงพาหะ และแนวโน้มแมลงพาหะในอนาคต
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายในของแมลง ความเหมือนและความแตกต่างของโครงสร้างแมลง วิวัฒนาการรากฐานของแมลง ความสำคัญและบทบาทของอวัยวะและการดัดแปลงอวัยวะของแมลง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ผลของสภาพแวดล้อมที่มีต่อประชากรแมลง แบบจำลองการเติบโตของประชากรแมลง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรแมลง นิเวศวิทยาชุมชนของแมลง บทบาทของแมลงในระบบนิเวศวิทยาทางการเกษตรและระบบนิเวศชุมชนเมือง เทคนิคในการศึกษาทางนิเวศวิทยาของแมลง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
พฤติกรรมทั่วไปของแมลง รูปแบบพฤติกรรมที่สำคัญ การตอบสนองการกระจายตัวและการอพยพ การสื่อสาร การผสมพันธุ์ กลไกการป้องกันตัว การกินอาหาร การหาอาหาร และพฤติกรรมทางสังคม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ความสำคัญของสัตว์ขาปล้องที่มีต่อมนุษย์ สาเหตุของการระบาด วิธีการควบคุม หลักการและแนวทางการจัดการสัตว์ขาปล้องศัตรู
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
กลุ่มหลักของจุลินทรีย์ก่อโรคแมลงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ กลไกการเข้าทำลาย อาการโรค ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ของสารกำจัดศัตรูพืชชีวภาพ
องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช แมลงศัตรูพืช การตรวจแมลงศัตรูพืชในสินค้า วิธีการปฏิบัติเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชจากสินค้า การบริหารจัดการแมลงศัตรูพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
วิธีและเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์กำจัดแมลงที่สำคัญ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบคุณภาพการเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย กฎหมายและข้อกำหนดการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมแมลง การศึกษาในภาคสนามและการศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
ประเภท รูปแบบ และปฏิกิริยาของสารฆ่าแมลง ความเป็นพิษ อันตรายที่มีต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ความต้านทานของแมลงต่อสารฆ่าแมลง รายละเอียดเกี่ยวกับสารฆ่าแมลง วิธีการใช้เครื่องมือและชนิดของสารฆ่าแมลงอย่างถูกต้อง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
สารประกอบในพืช การสกัดสารจากพืช การคัดกรองสารสกัดจากพืช การแยกและพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสกัดจากพืช การใช้ประโยชน์ของสารประกอบในพืช สารฆ่าแมลงจากพืช กลไกการออกฤทธิ์และการใช้สารฆ่าแมลงจากพืชในสภาพแปลงปลูก
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004211
หลักและระเบียบวิธีการวิจัยด้านกีฏวิทยา การกำหนดปัญหา การวางรูปการวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และตีความข้อมูล การใช้สถิติสำหรับการวิจัย การเขียนรายงานและการนำเสนอผลงานวิจัย
เรื่องเฉพาะทางกีฏวิทยาในระดับปริญญาตรีหัวข้อเรื่องเปลี่ยนแปลงไปแต่ละภาคการศึกษา
การศึกษาและค้นคว้าผลงานวิจัย บทความทางวิชาการและหนังสือ หรือตำรา แล้วนำเสนอในที่ประชุมสัมนา
การศึกษาค้นคว้าด้านกีฏวิทยา ระดับปริญญาตรี และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01004399
การฝึกงานพิเศษด้านกีฏวิทยา
หลักของเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อการเกษตรเขตร้อน ต้นกำลังและแทรกเตอร์ ประสิทธิภาพเชิงไร่ของเครื่องจักรกลทางเกษตรเขตร้อน ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรกลทางเกษตรเขตร้อน การควบคุมอัตโนมัติของเครื่องจักรกลเกษตรการจัดการเครื่องจักรกลทางเกษตรเขตร้อน การใช้เครื่องจักรกลสำหรับการพัฒนาชนบท
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โครงสร้างข้อมูล การจัดการข้อมูลและการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การออกแบบระบบและประยุกต์ใช้ด้านการเกษตร
หลักการทางด้านโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานทางการเกษตร ระบบขนส่ง บทบาทและความสำคัญของโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานทางการเกษตร กิจกรรมและกระบวนการทางโลจิสติกส์ของผลิตผลเกษตร การวิเคราะห์ปัญหาโลจิสติกส์ทางการเกษตร การประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการโลจิสติกส์ของผลิตผลเกษตร
ประวัติ ความหมาย ความสำคัญและปรัชญาของพืชสวน พืชอาหาร พืชสวนเพื่อสุขภาพ ไม้ดอกไม้ประดับ เมล็ดพันธุ์พืชสวน การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีชีวภาพและการปรับปรุงพันธุ์ พืชสวนประยุกต์ และพืชสวนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271
หลักการเพาะปลูกตามสรีรวิทยาและนิเวศวิทยาของไม้ผลผักและไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการยังชีพและเพื่อการค้า
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271
การสร้างและจัดการสถานที่เพื่อใช้ในงานการขยายพันธุ์พืชหลักการขยายพันธุ์พืช โดยเมล็ดโดยการตัดชำโดยการติดตา-ต่อกิ่ง และที่เกี่ยวข้องทฤษฎีเบื้องต้นในการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีต่างๆ
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01015299
การฝึกงานเฉพาะด้านพืชสวน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007371
หลักการจัดการสถานเพาะชำการจำแนกชนิดของเรือนเพาะชำการจัดเตรียมโรงเรือนเพาะชำการจัดเตรียมโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างการบริหารงานเพาะชำพันธุ์ไม้การจัดการผลิตและจำหน่ายพรรณไม้อย่างเป็นการค้า
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007311 หรือ 01007271
คุณภาพทั่วไปในด้านกายภาพและเคมีของผลไม้และผักสดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ มาตรฐาน คุณภาพการประเมินและควบคุมเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพดี
หลักการของพืชสวนยุคดิจิทัล และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ ได้แก่ เซ็นเซอร์ เครือข่ายการสื่อสาร หุ่นยนต์ เครื่องจักรขั้นสูง ระบบการบินไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ การรับรู้จากระยะไกล และโรงเรือนอัจฉริยะ ตัวอย่างการนำระบบพืชสวนยุคดิจิทัลไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการผลิตพืชสวนสมัยใหม่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271
การจำแนกชนิดพืชผัก ปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบการผลิตและการจัดการ การตลาดและการบริโภคพืชผัก มีการศึกษาดูงาน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271
วิธีการผลิตผักเฉพาะอย่าง การควบคุมคุณภาพผลิตผลสดเพื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักในอุตสาหกรรมอาหารและอื่น ๆ มีการศึกษาดูงาน
ลักษณะพืช การจัดจำแนก การตรวจเอกลักษณ์ การใช้ประโยชน์ การผลิตและคุณภาพวัตถุดิบ ของพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพรที่สำคัญ มีการศึกษานอกสถานที่
ความหมายและความสำคัญของผักพื้นบ้านของประเทศไทย องค์ความรู้พื้นบ้าน การปลูก การขยายพันธุ์ การผลิต และการนำไปใช้ประโยชน์ มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01013232
ธุรกิจไม้ดอกภายในและต่างประเทศเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต ไม้ตัดดอกไม้ดอกกระถาง และไม้ดอกประดับแปลง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 01007271 หรือ 01013232หรือ 010401114
ชนิดและลักษณะของไม้ใบประดับ การปลูก การขยายพันธุ์ การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ในการตกแต่งสถานที่ภายใน และภายนอกอาคาร มีการศึกษานอกสถานที่
ชนิดและลักษณะของกล้วยไม้สกุลต่าง ๆวิธีการปลูกเลี้ยงและดูแลรักษาการขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อการผสมเกสร การเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อและการปลูกเป็นการค้า
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01007311
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของไม้หัวประดับ การปลูกและการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์และเก็บรักษาหัวพันธุ์ก่อนที่จะนำไปปลูกในฤดูต่อไปศัตรูพืชที่สำคัญ และการบังคับการออกดอกของดอกไม้ประเภทหัว ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยา การปลูกเลี้ยงของกระบองเพชรประดับและไม้อวบน้ำ
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
ชีพจักร ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการจัดจำแนก วงศ์ สกุล ชนิดของเฟินและไลโคไฟท์ที่สำคัญ การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจ การขยายพันธุ์ การปลูก ดูแลรักษา และการอนุรักษ์ มีการศึกษานอกสถานที่
คำจำกัดความของไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ไม้ล้มลุกและพืชคลุมดินลักษณะต่างๆ ของกลุ่มพืชที่กล่าวข้างต้นโดยจัดตามวงศ์ ให้ทราบถึงลักษณะประจำวงศ์และชนิดพืชที่อยู่ตามวงศ์นั้นชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญลักษณะรูปทรงของต้นไม้ถิ่นกำเนิด และการกระจายพันธุ์พร้อมทั้งการนำไปใช้ในการจัดสวน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01013232
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นกำเนิดการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมการขยายพันธุ์ การปลูก บำรุงรักษาการผลิตผลไม้เขตร้อนการศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01013232
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นกำเนิดการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม การขยายพันธุ์ การปลูกดูแลรักษาการผลิตผลไม้เขตกึ่งร้อนการศึกษาดูงานนอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01013232
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นกำเนิดการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม การขยายพันธุ์ การปลูก บำรุงรักษาและการผลิตผลไม้เขตหนาวการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007271 หรือ 01013232
กิจการและระบบการผลิตในสวนไม้ผลการวางแผนและการตัดสินใจในการผลิตผลไม้ หลักการจัดสวนไม้ผลการจัดการเทคโนโลยีและระบบการผลิตย่อยต่างๆ ในสวนไม้ผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ในการผลิตผลไม้ มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
ความสำคัญของไม้ผล การจำแนกไม้ผล หลักการผลิตไม้ผล การจัดการสวนไม้ผลที่ดี และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
กระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชสวนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตพืชสวน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
ความสำคัญของชนิดและสมบัติของวัสดุปลูกการประยุกต์ใช้ในการผลิตพืชสวน ธาตุอาหารพืชและการใช้ประโยชน์บทบาทของธาตุอาหารพืชต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชการเคลื่อนย้ายและการดูดซึมของธาตุอาหารเข้าสู่พืชการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารภายในพืชและการเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารในพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชคุณสมบัติของสารเหล่านี้ และการนำมาประยุกต์กับพืชสวน เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ
ความหมายและประเภทของสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ของต้นไม้ที่มีต่อสภาพแวดล้อม สรีรวิทยาของพืชกับสภาพแวดล้อมการใช้พืชสวนเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อม
การเขียนแบบ 2 มิติและ 3 มิติ หลักการออกแบบสวนและเลือกใช้พรรณไม้สำหรับสวนในบ้าน การประเมินราคา และการดูแลรักษาสวน ฝึกปฏิบัติจัดสวนในบ้าน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007463
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความลาดชัน วัสดุการจัดสวนและการออกแบบพื้นผิวแข็ง (ถนน ทางเดิน บันได น้ำตก) สวนแนวตั้ง สวนในอาคาร การใช้ต้นไม้ในงานภูมิทัศน์ มีการศึกษานอกสถานที่
วิธีการดูแลรักษาสวน วิธีการใช้เครื่องมือในการดูแลสวน เทคนิคการตัดแต่งพรรณไม้ ระบบน้ำในงานภูมิทัศน์ การดูแลบ่อน้ำ น้ำตก น้ำพุ การดูแลรักษาสนามหญ้า การให้ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืช
วิธีการดูแลรักษาสวน วิธีการใช้เครื่องมือในการดูแลสวน เทคนิคการตัดแต่งพรรณไม้ ระบบน้ำในงานภูมิทัศน์ การดูแลบ่อน้ำ น้ำตก น้ำพุ การดูแลรักษาสนามหญ้า การให้ปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01416311
หลักและวิธีการพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์พืชสวน การปรับปรุงพันธุ์พืชสวนโดยใช้เทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัย กฏหมายเกี่ยวกับพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007371 หรือ 01007451 หรือ 01401351
เครื่องมือ อุปกรณ์และเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อผลิตส่วนขยายพันธุ์พืชการกลายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ความหมาย ความสำคัญ การประเมิน การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ของความหลากหลายของทรัพยากรพืชสวน หลักของระบบวิทยาของพืชสวน วงศ์ สกุล และชนิดของพืชสวนที่สำคัญมีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007311
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่องานวิจัยทางพืชสวนและการผลิต การจำแนกพันธุ์พืช การอนุรักษ์ การขยายพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช กระบวนการ หลังการเก็บเกี่ยว การผลิตสารทุติยภูมิ ความปลอดภัยทางชีวภาพ มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007311
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่องานวิจัยทางพืชสวนและการผลิต การจำแนกพันธุ์พืช การอนุรักษ์ การขยายพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช กระบวนการ หลังการเก็บเกี่ยว การผลิตสารทุติยภูมิ ความปลอดภัยทางชีวภาพ มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
การพัฒนาการ การงอก การพักตัว การปรับสภาพการเก็บรักษา และการทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
สรีรวิทยา การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ขนย้าย ขนส่งการเก็บรักษาและการปฏิบัติต่อผลไม้ ผัก และดอกไม้สด
ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตผลพืชสวนตั้งแต่การเก็บเกี่ยวจนถึงการจำหน่ายถึงมือผู้บริโภค หลักการบรรจุ การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีการบรรจุเพื่อรักษาคุณภาพ ยืดอายุการเก็บรักษาและการวางจำหน่ายของผลิตผลพืชสวน เทคโนโลยีการบรรจุและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวและเพิ่มมูลค่าผลิตผลพืชสวน มีการศึกษานอกสถานที่
หลักการ และระเบียบวิธีวิจัยทางพืชสวน การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดหัวข้อวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน การรวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผนการวิจัยและการออกแบบ การสร้างแบบสอบถาม การวิเคราะห์ ตีความ และวิจารณ์ผลการวิจัย การใช้สถิติสำหรับการวิจัย การเขียนรายงาน การเสนอผลการวิจัย จริยธรรมในการวิจัย
เรื่องเฉพาะทางพืชสวนในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา
การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่นำสนใจทางพืชสวนในระดับปริญญาตรี
การศึกษาค้นคว้าทางพืชสวน ระดับปริญญาตรีและเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01007399
การฝึกงานพิเศษด้านพืชสวน
ประวัติและความสำคัญของโรคพืช แนวคิดเกี่ยวกับโรคพืช สมุฏฐานวิทยาการเกิดโรค อาการ การพัฒนาของโรค การระบาด การจัดหมวดหมู่ การวินิจฉัย หลักการควบคุมโรคพืชและเทคโนโลยีชีวภาพทางโรคพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ทฤษฎีและหลักปฏิบัติในการควบคุมโรคพืชโดยวิธีการกักกันโรคการปฏิบัติทางเขตกรรมการหลีกเลี่ยงการเกิดและระบาดของโรคการควบคุมโรคพืชโดยวิธีการทางกายภาพเคมีชีวภาพและการใช้พันธุ์ต้านทานโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01015299
การฝึกงานเฉพาะด้านโรคพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01419211
ลักษณะอาการของโรคการจำแนกเชื้การเข้าทำลายและการแพร่ระบาดของโรคความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114
ลักษณะโดยทั่วไปทางสัณฐานวิทยาการพัฒนาและการเจริญของโครงสร้างวิวัฒนาการและอนุกรมวิธานของราที่เลือกเป็นตัวแทนในแต่ละหมวดหมู่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111 และ01424112 หรือ01424113 และ 01424442
เทคนิคการแยกราในน้ำและในดินให้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ศึกษาการดำรงชีวิต การจำ1แนกชนิดความสัมพันธ์ของเชื้อราในน้ำและในดินกับสิ่งมีชีวิตอื่น
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008421
ลักษณะอาการของโรคการจำแนกเชื้อการเข้าทำลายการแพร่ระบาดของโรคความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับพืชที่เป็นโรวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ประวัติความเป็นมารูปร่างลักษณะกายวิภาคการจัดแบ่งหมวดหมู่ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชลักษณะอาการของโรคนิเวศวิทยาและหลักการควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ลักษณะที่สำคัญของไวรัสพืชโครงสร้างและองค์ประกอบของอนุภาคไวรัส การเข้าทำลายการเพิ่มปริมาณการดำรงชีพและการแพร่กระจายในธรรมชาติลักษณะอาการของโรคไวรัสวิธีการควบคุมโรคเทคนิคพื้นฐานในการจำแนกไวรัสพืชและการตรวจวินิจฉัยโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211 และ 01416311
โครงสร้างทางพันธุกรรม การควบคุมและการแสดงออกของยีนสารชีวโมเลกุลของพืชและเชื้อสาเหตุโรคพืชที่เกี่ยวข้องในกระบวนการก่อโรคและความต้านทานโรคความผันแปรทางพันธุกรรมของพืชและเชื้อสาเหตุโรคพืช เทคนิคทางโมเลกุลในการวินิจฉัยโรคพืช การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางชีววิทยาโมเลกุลเพื่อการควบคุมโรคพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
โรคของพืชไร่ใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจประวัติและท้อถิ่นที่เกิดโรคลักษณะอาการสาเหตุวงจรโรคการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อโรคการเข้าทำลายพืช การระบาดความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคกับพืชสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคและวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
โรคของพืชไร่ใบเลี้ยงคู่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจประวัติและท้องถิ่นที่เกิดโรคลักษณะอาการสาเหตุวงจรโรคการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อโรคการเข้าทำลายพืชการระบาดความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคกับพืชสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคและวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
โรคของไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจลักษณะอาการสาเหตุของโรคปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคการเข้าทำลายแฝง การระบาด การวินิจฉัยโรคและวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
โรคของไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจประวัติและท้องถิ่นที่เกิดโรคลักษณะอาการสาเหตุชีพจักรและการระบาดของโรคความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคกับพืชวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
โรคของผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจประวัติลักษณะอาการสาเหตุวงจรโรค การระบาดความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับเชื้อสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคและวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401351
โรคพืชที่เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารสารเคมีต่างๆของเสียในน้ำในอากาศและสภาพแวดล้อมอื่นๆลักษณะอาการของโรคและวิธีการแก้ไข
ลักษณะสำคัญของเชื้อสาเหตุโรคพืชแบคทีเรียราไส้เดือนฝอยไวรัสไวรอยด์และไฟโตพลาสมาอนุกรมวิธานและการจำแนกเชื้อพันธุศาสตร์ของเชื้อและความสัมพันธ์กับพืชนิเวศวิทยาการแพร่ระบาดโรคการจัดการโรคแนวโน้มการศึกษาวิจัยและพัฒนาทางโรคพืช
ความสำคัญและเรื่องปัจจุบันของโรคพืชไร่ไม้ผลไม้ดอกไม้ประดับและผักที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศการเกิดและการพัฒนาโรคสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอาการของพืชที่เป็นโรคเชื้อสาเหตุและการวินิจฉัยการแพร่ระบาดและแนวคิดในการจัดการโรคด้วยข้อมูลที่ทันสมัย
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
หลักการและทฤษฎีของการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคพืช การแบ่งประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช รูปแบบและวิธีการใช้ สมบัติทางเคมีและกลไกการออกฤทธิ์ การเคลื่อนย้ายในพืชและการเข้ายับยั้งกระบวนการเมตาบอลิซึมในเซลล์เชื้อสาเหตุโรคพืช สารปฏิชีวนะ การดื้อยาและการป้องกัน
การจัดการโรคพืชเศรษฐกิจในโรงเรือนที่สำคัญประเภทของสถานเพาะชำ หลักการจัดการ การสร้างและการจัดสถานที่เพื่อใช้ในการปลูกพืชไม่ให้ส่งเสริมการระบาดของโรคชนิดของโรคและพืชเศรษฐกิจในโรงเรือนสาเหตุและวงจรโรค การเกิดและการพัฒนาการโรค วิธีการระบาด สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาการโรค การวินิจฉัย การจัดการโรคเพื่อลดปัญหาและเพิ่มผลผลิตของพืชเศรษฐกิจในโรงเรือน เทคโนโลยีการผลิตพืชระบบไร้ดินและส่วนขยายพันธุ์พืชที่ปลอดโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ชนิดและแหล่งของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติได้แก่พืชจุลินทรีย์และสัตว์การจำแนกชนิดของพืชตามองค์ประกอบทางเคมีจำแนกชนิดพืชทุติยภูมิจากจุลินทรีย์เทคนิคพื้นฐานทางด้านเคมีเพื่อใช้ในการตรวจหาชนิดสารในพืชและจุลินทรีย์และแนวทางการใช้ประโยชน์ในการจัดการศัตรูพืชด้านการเกษตรอื่นๆเพื่อแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
วิธีการวินิจฉัยโรคพืชโดยศึกษาจากลักษณะอาการการตรวจแยกเชื้อจากเนื้อเยื่อพืชและเทคนิคอื่นที่เกี่ยวข้องในการวินิจฉัยการให้คำแนะนำในการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ประวัติและความสำคัญของโรคที่ติดไปกับเมล็ดการถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเมล็ดวิธีการตรวจสอบและการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ความสำคัญทางเศรษฐกิจลักษณะอาการสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคและการสร้างสารพิษการตรวจสอบและวิธีการควบคุมโรค
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
ระบบภูมิคุ้มกันโรคคุณสมบัติในการเป็นแอนติเจนของเชื้อสาเหตุโรคพืชการผลิตและการเตรียมแอนติซีรัมให้บริสุทธิ์การทดสอบทางเซรุ่มวิทยาขั้นพื้นฐานการใช้วิธีการทางเซรุ่มวิทยาเพื่อตรวจสอบและพยากรณ์โรคพืช
สารควบคุมศัตรูพืชและพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย รูปแบบและการวิเคราะห์รูปแบบสารควบคุมศัตรูพืช การทดสอบพิษตกค้าง เครื่องมือและเทคโนโลยีการวิเคราะห์สารตกค้าง การรับรองมาตรฐานห้องปฏบัติการ
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008211
เทคนิคในการเขียนโครงการวิจัยและวางแผนงานวิจัยการค้นเอกสาร การวางแผนงานทดลองการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการนำเสนอผลงานและการเขียนรายงานหลักการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทั่วไปในการวิจัยทางด้านโรคพืชเทคนิคการวิจัยที่สำคัญทางโรคพืชและการผลิตพืชปลอดโรค
เรื่องเฉพาะทางโรคพืชในระดับปริญญาตรีหัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา
การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางโรคพืชในระดับปริญญาตรี
การศึกษาค้นคว้าทางโรคพืชระดับปริญญาตรีและเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01008399
การฝึกงานพิเศษด้านโรคพืช
ความสำคัญของดิน การกำเนิด องค์ประกอบ สมบัติของดินทางกายภาพ ทางเคมีและทางชีวภาพ อินทรียวัตถุในดินและจุลินทรีย์ดิน ธาตุอาหารพืช ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย การสำรวจและการจำแนกดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การประยุกต์สารสนเทศทางดิน และสิ่งแวดล้อม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ชนิด การผลิต และสมบัติที่สำคัญของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี หลักการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ ธุรกิจเกี่ยวกับการค้าปุ๋ย มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01015299
การฝึกงานเฉพาะด้านปฐพีวิทยา
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ประเภทของข้อมูลและสารสนเทศทางดิน แนวคิดและหลักการในการแปลความหมายข้อมูล และสารสนเทศของทรัพยากรดินเพื่อใช้ทางการเกษตร การอนุรักษ์และการจัดการดิน และการศึกษาสภาวะแวดล้อม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
แนวคิดและหลักการในการใช้และจัดการทรัพยากรดินเชิงบูรณาการ กระบวนการทางดินและระบบนิเวศที่มีผลต่อคุณภาพดิน การพัฒนาทรัพยากรดินในระบบเกษตรยั่งยืนที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คลินิกดิน มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
หลักของความอุดมสมบูรณ์ของดินและธาตุอาหารพืช ธรรมชาติและเปลี่ยนแปลงความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน การประเมินธาตุความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักการการใช้ปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพ เคมี ชีวภาพของดินและธาตุอาหารพืชในดินกับการเติบโตและผลผลิต กลไกการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช หน้าที่เมแทบอลิกของธาตุอาหารในพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ชนิด และแหล่งของวัตถุดิบเพื่อการผลิตปุ๋ยเคมี วิธีและเทคโนโลยีในการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนฟอสเฟตโพแทสเซียมปุ๋ยผสม ปุ๋ยธาตุอาหารรองปุ๋ยธาตุอาหารเสริมหลักการและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112 และ 01403111 หรือ 01403113
ประวัติของเคมีดิน องค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเคมีดินสิ่งแวดล้อม เคมีของสารประกอบอนินทรีย์ในดิน ประจุที่ผิวของแร่ในดิน เคมีของอินทรียวัตถุในดิน ปรากฏการณ์ดูดซับในดิน กลไกการแลกเปลี่ยนไอออน จลศาสตร์ของกระบวนการเคมีในดิน ปฏิกิริยารีดอกซ์ในดิน ปฏิกิริยาดินและเคมีของดินกรดจัด เคมีของดินเนื้อปูน ดินเค็มและดินโซดิก เคมีของธาตุอาหารพืชในดิน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112 และ 01403111 หรือ 01403113
หลักการและวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของดินพืชและวัสดุทางการเกษตร โดยเฉพาะองค์ประกอบที่เป็นธาตุอาหารพืช หลักการของเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ดินและพืช การแปรผลวิเคราะห์ดินและพืชเพื่อประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนการให้คำแนะนำปุ๋ยสำหรับปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
การระบุชนิดและการกำหนดลักษณะของดินในสนามตามเทคนิคการสำรวจดิน การวิเคราะห์สมบัติและปัจจัยหลักที่มีผลต่อการกำเนิดและสมบัติของดิน และวิธีการใหม่ในการประเมินทรัพยากรดิน มีการศึกษานอกสถานที่
เทคนิคการรับรู้ระยะไกลเพื่อการเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน เทคนิคการแปลความหมายสารสนเทศทางทรัพยากรดิน และการใช้ที่ดินที่ได้มาโดยวิธีรับรู้ระยะไกล มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
สภาพแวดล้อมของดินในประเทศไทย ชนิดดินและการจำแนก ลักษณะและสมบัติที่สำคัญของดิน การแจกกระจายและแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับลักษณะทรัพยากรดินของประเทศไทย มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009441
การกำเนิด สัณฐานวิทยาของดินที่สูงและดินในพื้นที่มีความลาดชันมาก สมบัติทางกายภาพ เคมี และแร่วิทยาของดิน ความสัมพันธ์ของดิน กับสภาพภูมิประเทศและพืชพรรณ การสำรวจและจำแนกดิน หลักการพื้นฐาน ในการใช้การอนุรักษ์ดินในที่สูงและดินไหล่เขามีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
การสร้างตัวของดินในสภาพแวดล้อมแบบต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาค สมบัติพื้นฐานของดินรูปแบบของดินเชิงพื้นที่ การกระจายของดินในโลกและความสัมพันธ์ของดินกับสภาพภูมิอากาศ พืชพรรณ และกิจกรรมของมนุษย์ มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
การดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ในดิน ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ควบคุมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินบทบาทของจุลินทรีย์ดินต่อวัฏจักรธาตุอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ดินกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในดิน กระบวนการตรึงไนโตรเจน ความสัมพันธ์แบบไมคอร์ไรซา
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางด้านเกษตรทั้งที่เป็นปุ๋ยชีวภาพ เป็นสารกำจัดศัตรูพืชชีวภาพและการควบคุมโดยชีววิธี การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์และปัญหาการใช้จุลินทรีย์และการควบคุมโดยชีววิธีในประเทศเพื่อนบ้าน การใช้เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพปุ๋ยชีวภาพ สารกำจัดศัตรูพืชชีวภาพและการควบคุมโดยชีววิธี
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
สมบัติและกระบวนการทางกายภาพของดินขั้นพื้นฐาน ความชื้นและพลังงานของน้ำในดิน การเคลื่อนที่ของน้ำ ความร้อน ก๊าซ และตัวละลายในดิน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
บทบาทของสภาวะทางกายภาพของดินต่อการเจริญเติบโตของพืช ความสัมพันธ์ของดิน น้ำ และพืช รวมถึงการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพดินให้เหมาะสมต่อการผลิตพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องสมบัติ และกระบวนการทางฟิสิกส์ดิน รวมทั้งการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ดินเพื่อการเกษตร และสิ่งแวดล้อม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
แนวทางการจัดการดินเพื่อการผลิตพืชบนพื้นฐานของความชื้นอินทรียวัตถุและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินระบบการเขตกรรม และการปลูกพืชการจัดการดินสำหรับพืชเฉพาะอย่างการจัดการดินในระบบเกษตรอินทรีย์ และการจัดการดินที่มีการปนเปื้อน มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
สาเหตุ กลไกและปัจจัยที่มีผลต่อการกร่อนและการเสื่อมสภาพของดิน การประเมินและการควบคุมการกร่อนดิน ความเสียหายและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม แหล่ง การกระจายเชิงภูมิศาสตร์ และวัฏจักรของทรัพยากรน้ำ หลักการพื้นฐานและแนวคิดการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อผลิตภาพของดินที่ยั่งยืน มีการศึกษานอกสถานที่
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
สาเหตุ กลไกและปัจจัยที่มีผลต่อการกร่อนและการเสื่อมสภาพของดิน การประเมินและการควบคุมการกร่อนดิน ความเสียหายและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม แหล่ง การกระจายเชิงภูมิศาสตร์ และวัฏจักรของทรัพยากรน้ำ หลักการพื้นฐานและแนวคิดการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อผลิตภาพของดินที่ยั่งยืน มีการศึกษานอกสถานที่
สารมลพิษในดินทั้งจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ สมบัติของสารมลพิษดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงของสารมลพิษในดินและผลกระทบต่อสมบัติต่าง ๆ ของดิน การปนเปื้อนของสารมลพิษในดินสู่สภาพแวดล้อม หลักการจัดการสารมลพิษในดินเบื้องต้น
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
หลักและระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้นทางปฐพีวิทยา การกำหนดปัญหาวิจัย การวางรูปแบบการวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์และสมมติฐานของงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมาย การใช้สถิติสำหรับการวิจัย การเขียนรายงานและการเสนอผลงานวิจัย
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009112
เรื่องที่น่าสนใจทางปฐพีวิทยาในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละภาคการศึกษา และมีการศึกษานอกสถานที่
การนำเสนอและการอภิปรายในหัวข้อที่น่าสนใจทางปฐพีวิทยาในระดับปริญญาตรี
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01009111 หรือ 01009112
การศึกษาค้นคว้าทางปฐพีวิทยา ระดับปริญญาตรี และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
การฝึกงานพิเศษด้านปฐพีวิทยา
ธรรมชาติและการเกิดของหินและแร่ ความสัมพันธ์ระหว่างหิน-แร่กับการกำเนิดดินทรัพยากรธรรมชาติและกระบวนการทางธรณีวิทยาต่าง ๆ ภูมิสัณฐานและการเกิดโลก สภาพทางธรณีวิทยาของโลกและของประเทศไทยทรัพยากรธรณีที่จำเป็นสำหรับการเกษตร
ความสำคัญของการเกษตรต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมกับการเกษตรของประเทศไทย สถาบันและองค์กรในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และสิ่งแวดล้อมระบบการเกษตรโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทยและความสัมพันธ์กับภาคอุตสาหกรรมเกษตร ผลกระทบจากข้อตกลงการเปิดเสรีทางการค้าต่อภาคการเกษตร
การฝึกปฏิบัติงานทั่วไปทางการเกษตรด้านพืชไร่ พืชสวน พืชอาหารสัตว์ การจัดการศัตรูพืช ดินและปุ๋ย การเลี้ยงสัตว์ และเกษตรกลวิธาน
การเรียนรู้และพัฒนาตนเองจากรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ การเทียบเคียงหน่วยกิตเป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การปฏิบัติงานในสถานประกอบการในลักษณะพนักงานชั่วคราว ตามโครงงาน ที่ได้รับมอบหมายตลอดจนการจัดทำรายงานและการนำเสนอ
***ขาดคำอธิบายรายวิชา (พืชไร่นา)
***ขาดคำอธิบายรายวิชา (พืชสวน)
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01101181 หรือ 01101101
สิ่งเร่งและสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา บทบาทของทรัพยากรธรรมชาติ ประชากร ทุน และเทคโนโลยีในการพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย การผลิตทางเกษตร การบริโภคผลผลิตอาหาร อุปสงค์และอุปทานและราคาผลผลิตเกษตร สหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย สินเชื่อเกษตร ตลาดเกษตร หลักการผลิต ต้นทุนการผลิต อุปทานและรายได้ หลักการทำให้ได้กำไรในการผลิตทางการเกษตรสูงสุด หลักการจัดการธุรกิจการเกษตร และปัญหาในการค้าเกษตรกรรม
บทบาทของธุรกิจการเกษตรในเศรษฐกิจไทย โครงสร้างระบบธุรกิจการเกษตรและระบบย่อย ปัจจัยการผลิต การผลิตระดับฟาร์ม การจัดหา การแปรรูปและการเก็บรักษา การจัดจำหน่าย และการส่งออก กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานในธุรกิจการเกษตร
***ขาดคำอธิบายรายวิชา (พืชสวน)
***ขาดคำอธิบายรายวิชา (พืชสวน)
แนวคิดการบริหารธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทและความสำคัญของการ บริหารธุรกิจยุคใหม่ องค์ประกอบและการเขียนแผนธุรกิจ การเตรียมพร้อมสำหรับการ เป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา สรีรวิทยา นิเวศวิทยา การจัดหมวดหมู่และวิวัฒนาการ การใช้ประโยชน์จากพืช
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114 และ 01403221
ความรู้เบื้องต้นทางสรีรวิทยาของพืชที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตและการเจริญ เมแทบอลิซึม ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช และธาตุอาหาร
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01401114 และ 01403221
ความรู้เบื้องต้นทางสรีรวิทยาของพืชที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตและการเจริญ เมแทบอลิซึม ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช และธาตุอาหาร
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403221 หรือ 01403223 หรือเรียนพร้อมกัน
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ของน้ำในกระบวนการทางชีวเคมีในเซลล์ สารละลายบัฟเฟอร์ โครงสร้าง สมบัติ หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดนิวคลีอิก ลิพิด เอนไซม์และโคเอนไซม์ และการประยุกต์
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01402311 หรือเรียนพร้อมกัน
ปฏิบัติการเรื่องพีเอชและบัฟเฟอร์ สเปกโทรโฟโตเมตรี การจำลองโครงสร้างของชีวโมเลกุล สมบัติทางกายภาพและเคมี และการวิเคราะห์ ชีวโมเลกุล กิจกรรมเอนไซม์ เทคนิคโครมาโทกราฟี
อะตอมและโครงสร้างอะตอม ระบบพีริออดิก พันธะเคมี ปฏิกิริยาเคมีแก๊ส ของเหลว ของแข็ง สารละลาย อุณหพลศาสตร์ จลนพลศาสตร์เคมี สมดุลเคมี อิเล็กโทรไลต์และการแตกตัวเป็นไอออน กรดและเบส สมดุของไออนเคมีไฟฟ้า
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403111 หรือพร้อมกัน
ปฏิบัติการสำหรับวิชา 01403111 เคมีทั่วไป
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403111 หรือ 01403115 หรือ 01403117
ทฤษฎีทางเคมีอินทรีย์ การจำแนกประเภทของารประกอบอินทรีย์ปฏิกริยาเคมีและกลไกของปฏิกิริยา สเทอริโอเคมี เคมีของสรแอลิแฟติกไฮโดรคาร์บอน แอลคิลเฮไลด์ แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน การหากโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์โดยวิธีทางสเปกโทรสโกปี สมบัติและปฏิกิริยาของแอลกอฮอล์ อีเทอร์ สารประกอบฟีนอล แอลดีไฮด์ คโตน กรดอินทรีย์อนุพันธ์กรดอินทรีย์ เอมีนและสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ ลิพิด คาร์โบไฮเดรตกรดอะมิโน โปรตีน และกรดนิวคลีอิก
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403221 หรือพร้อมกัน
ปฏิบัติการสำหรับวิชา 01403221 เคมีอินทรีย์
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403111 หรือ 01403115
หลักการและกระบวนการในการวิเคราะห์ทางเคมี สถิติศาสตร์ในระเบียบวิธีวิเคราะห์ ทฤษฎีในปริมาณวิเคราะห์ การวิเคราะห์โดยน้ำหนักการวิเคราะห์โดยการไทเทรต การไทเทรตกรด-เบส การไทเทรตโดยการเกิดตะกอน การไทเทรตโดยการเกิดสารเชิงซ้อน การไทเทรตรีดอกซ์ หลักการพื้นฐานของสเปกโทรโฟโตเมทรีแบบดูดกลืน
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403112 หรือ 01403118 และ 01403231 หรือพร้อมกัน หรือ 01403233 หรือพร้อมกัน
เทคนิคและปฏิบัติการทดลองวิเคราะห์ปริมาณทางเคมี
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01403112 หรือ 01403118 และ 01403231 หรือพร้อมกัน หรือ 01403233 หรือพร้อมกัน
เทคนิคและปฏิบัติการทดลองวิเคราะห์ปริมาณทางเคมี
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111
เซลล์และออร์แกเนลล์ที่เกี่ยวข้องกับพันธุศาสตร์การถ่ายทอดพันธุกรรมระหว่างไมโทซิสและไมโอซิส หลักการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลและกฎความน่าจะเป็นภาคขยายของกฎเมนเดล สารพันธุกรรม การจำลองและการซ่อมแซมการทางานของยีนและการควบคุมมิวเทชันของยีนและโครโมโซม พันธุศาสตร์ปริมาณและประชากรพันธุกรรมนอกนิวเคลียส พันธุศาสตร์วิวัฒนาการ
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01416311 หรือพร้อมกัน
ปฏิบัติการสำหรับวิชาหลักพันธุศาสตร์
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111
หลักทางจุลชีววิทยา จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ โครงสร้างของเซลล์พันธุกรรม การเจริญและ เมแทบอลิซึม การจัดหมวดหมู่การประยุกต์ทางการเกษตร อาหาร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุขและการแพทย์
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01419211 หรือพร้อมกัน และ 01424112
ปฏิบัติการสำหรับ 01419211
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01420119 หรือพร้อมกัน
สําหรับวิชาฟิสิกส์อย่างสังเขป
กลศาสตร์อุณหพลศาสตร์คลื่น เสียง ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแส แม่เหล็ก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง ฟิสิกส์ยุคใหม่เบื้องต้น
แนวความคิดเกี่ยวกับวิชาสถิติ ตัววัดตำแหน่งที่ ตัววัดค่ากลาง ตัววัดการกระจาย ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม การแจกแจงทวินาม การแจกแจงปัวซง การแจกแจงปกติ การแจกแจงตัวอย่าง สถิติ อนุมานสำหรับประชากรเดียวและสองประชากร การวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111 หรือเรียนพร้อมกัน
แนวคิดการออกแบบการทดลอง การออกแบบการทดลองพื้นฐาน การเปรียบเทียบพหุการตรวจสอบตัวแบบ การแปลงข้อมูล การทดลองแบบแฟกทอเรียล แผนแบบซ้อนใน การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การประยุกต์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการทดลอง
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01422111
ทฤษฎีการออกแบบการทดลอง การออกแบบการทดลองพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การเปรียบเทียบพหุ การตรวจสอบตัวแบบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยวิธีเมทริกซ์ แผนแบบแฟกทอเรียล การกําหนดขนาดตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
**ขาดคำอธิบายรายวิชา (พืชสวน)
ชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต เซลล์และเมแทบอลิซึม พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตโครงสร้างและหน้าที่ของสัตว์และพืช นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 01424111 หรือเรียนพร้อมกัน
ปฏิบัติการการใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์และการเคลื่อนที่ของสารเอนไซม์ และพลังงานในสิ่งมีชีวิต เนื้อเยื่อพืชและสัตว์ วัฏจักรของเซลล์และการแบ่งเซลล์ การสืบพันธุ์และการเจริญของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และนิเวศวิทยา