ประวัติ รูปแบบ สารเคมีที่ใช้ควบคุมโรคพืช การแบ่งประเภท สมบัติทางเคมีและกลไกการออกฤทธิ์ กระบวนการเมตาบอลิซึมของเชื้อสาเหตุโรคพืช การดื้อยาและการป้องกัน การขึ้นทะเบียนสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
การฝึกงานทั่วไปด้านการเกษตรพื้นฐาน
หลักการโครมาโทกราฟี เคมีไฟฟ้า สเปกโทรสโคปเชิงอะตอมและเชิงโมเลกุล เคมีรังสี และการประยุกต์การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณทางเคมีการเกษตร
หลักการของการอารักขาพืชแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มผลผลิตในการจัดการอย่างยั่งยืน วิธีการ และเทคนิคเพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับการจัดการระบบนิเวศน์ทางการเกษตร และการควบคุมศัตรูพืชด้วยวิธีทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ
ชนิดและสมบัติของสารเคมี หิน และแร่ที่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพของดินเพื่อการเจริญเติบโตของพืช การเคลื่อนที่ของสารละลายในดิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร ผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ มนุษย์ สัตว์และพืช การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการศึกษานอกสถานที่
การจำแนกชนิดของสารป้องกันกำจัดวัชพืช ชื่อเคมี ชื่อสามัญ และชื่อการค้า วิธีการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช กลไกทางชีวเคมีในพืชและในดิน ผลของสารกำจัดวัชพืชต่อดินและสภาพแวดล้อม
ภาพรวมของการใช้สารเคมีสำหรับงานทางด้านพืชสวน การประยุกต์สารเคมีสำหรับการผลิตพืชสวน การขยายพันธุ์พืช การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืช การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผล การผลิตปุ๋ยชีวภาพ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการจัดการเมล็ดพันธุ์พืช ปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้สารเคมีสำหรับการผลิตพืชสวนอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และปลอดภัย
การปฏิบัติงานในสถานประกอบการในลักษณะพนักงานชั่วคราวเพื่อให้ได้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
หลักและระเบียบวิธีวิจัยทางเคมีการเกษตร การกำหนดปัญหา การวางรูปแบบการวิจัย การตั้งวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างแบบสอบถาม การวิเคราะห์และตีความข้อมูล การใช้สถิติสำหรับการวิจัย การเขียนรายงานและการนำเสนอ
เรื่องเฉพาะทางเคมีการเกษตร ในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา
การนำเสนอ และอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางเคมีการเกษตร ในระดับปริญญาตรี
การศึกษาค้นคว้าทางเคมีการเกษตรระดับปริญญาตรี และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
การฝึกงานเฉพาะด้านเคมีการเกษตร
ความสําคัญของภาคการเกษตร การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการส่งเสริมการเกษตร แหล่งข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ระบบการคิด การจัดการความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าการเกษตรและการบริการกลยุทธ์และเทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม การบริหารการเปลี่ยนแปลง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยืนและตัวบ่งชี้ความสําเร็จ
ความสำคัญของการผลิตสัตว์ ความสัมพันธ์กับการเกษตรสาขาอื่น ๆ หลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ การจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อม ผลผลิตขั้นปฐมและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การตลาดปศุสัตว์ แนวโน้มการผลิตสัตว์ในอนาคต
ความสําคัญของวิทยาศาสตร์ด้านพืชไร่ ระบบนิเวศวิทยาการเกษตร การจําแนกพืช สรีรวิทยาการผลิต การปรับปรุงพันธุ์พืช วิทยาศาสตร์ของดิน การเขตกรรม และระบบการปลูกพืช วิทยาศาสตร์เมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชไร่